วิศวกรรมไฟฟ้าราชมงคลล้านนา จับมือ โรงบาลแม่สอด
ผลิตเครื่องฉายระบบแสงจากหลอดแอลอีดี (LED)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ตาก
ร่วมกับโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ผลิตเครื่องฉายระบบแสงจากหลอดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะเด็กตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โดยรองศาสตราจารย์ดร.นำยุทธ
สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร
เป็นตัวแทนมอบเครื่องฉายระบบแสงจากหลอดแอลอีดี (LED) แก่โรงพยาบาลแม่สอด
อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ห้องประชุมรัตมณี ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 พระชนมพรรษา
โรงพยาบาลแม่สอด นายแพทย์จรัล วิวัฒน์คุณูปการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด
และคณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สอด ให้การต้อนรับ รศ.ดร.นำยุทธ
สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา และคณะ
ที่ได้เดินทางมามอบเครื่องฉายระบบแสงจากหลอดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะเด็กตัวเหลืองในทารกแรกเกิด จำนวน 10 เครื่องมูลค่า 150,000 บาท โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก นายอุดร ตันติสุนทร
ประธานมูลนิธิช่วยการศึกษาตันติสุนทร
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวว่า
ราชมงคลล้านนาเรามุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ สามารถคิดโจทย์
สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
ชุมชนสำหรับเครื่องฉายระบบแสงจากหลอดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะเด็กตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนี้นับว่าเป็นผลงานของนักศึกษาที่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์และจะเป็นต้นแบบในการต่อยอดความคิดให้กับนักศึกษารุ่นต่อไป
ซึ่งการรักษาด้วยการส่องไฟ
เป็นมาตรฐานในการรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองมีผลแทรกซ้อนน้อยและสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาด้วยส่องไฟ ได้แก่
ช่วงคลื่นแสงและระดับพลังงานแสงของแหล่งกำเนิดที่ใช้
โดยแหล่งซึ่งให้ระดับพลังงานแสงที่สูงและให้แสงสีฟ้าทีมีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมในการลดระดับบิลิรูบินในเลือดจากสถิติพบว่า
ในปี 2555 -2557 พบจำนวนทารกที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 200-400 รายต่อปี
ซึ่งพบว่าเด็กที่มีลักษณะผิดปกตินี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจึงทำให้มีจำนวนเครื่องไม่เพียงพอ
ด้าน ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
มทร.ล้านนา กล่าวว่า เครื่องนี้เป็นความร่วมมือของโรงพยาบาลแม่สอด และมทร.ล้านนา
ในการประดิษฐ์เครื่องต้นแบบซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและสามารถรับรองผลการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เครื่องต้นแบบนี้มีแหล่งกำเนิดแสงจากหลอดแอลอีดีแสงสีนำเงิน จำวน 300หลอด
กำเนิดแสงสีน้ำเงินในช่วงค่าความยาวคลื่น 465-475 นาโนเมตร
ซึ่งแสงช่วงค่าความยาวคลื่นดังกล่าวสามารถรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้
ดร.จักรกฤษณ์ เคลือบวัง
อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า
เครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นมานี้ได้ทำการทดสอบด้านคุณลักษณะทางแสง
ด้านการใช่พลังงานและด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ประการแรก
หลอดแอลอีดีมีค่าความยาวคลื่นใกล้เคียง 460 นาโนเมตร โดยไม่มีรังสีอัลตราไวโอเลตและสามารถปรับค่าความเข้มแสงได้ในช่วงประมาณ 20
-30 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรต่อนาโนเมตร
โดยการปรับระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับพื้นที่ใช้งาน
ประการที่สองเมื่อเปรียบเทียบเครื่องต้นแบบกับเครื่องของโรงพยาบาลตากสินราชานุสรณ์
รุ่น TSM PHO-14359 ในช่วงระยะเวลาใช้งาน 3 ปี เครื่องต้นแบบใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 293 กิโลวัตต์-ชั่วโมง เครื่องของโรงพยาบาลใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 2063 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
เครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าเครื่องของโรงพยาบาล 1770 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ประการที่สาม
จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาตร์เมื่อเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาใช้งานสามปีโดยคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 380 บาท คงที่ พบว่าเครื่องต้นแบบมีต้นทุนในการสร้างเครื่องเท่ากับ 20,000 บาท ค่าไฟฟ้า 3,300 บาท
โดยไม่มีค่าเปลี่ยนหลอด มีค่าใช้จ่ายรวม 23300 บาท
และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องของโรงพยาบาลมีราคา20500 บาท
ค่าไฟฟ้า 7732 บาท และค่าเปลี่ยนหลอด 12000 มีค่าใช้จ่านรวม 40 232 ซึ่งจะพบว่าเครื่องต้นแบบมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่าเครื่องหลอดฟลูออเรสเซนต์ของโรงพยาบาล 1.72 เท่า
ภาพ
/ ข่าว กานต์สิรี วิมุกตายน
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น