วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โรงพยาบาลชายแดนแม่สอด ตื่นตัว “ ไวรัสเมอร์ส” ออกเร่งรณรงค์ให้ความรู้ ให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

โรงพยาบาลชายแดนแม่สอด  ตื่นตัว “  ไวรัสเมอร์ส” ออกเร่งรณรงค์ให้ความรู้ ให้ผู้ปกครอง   ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
                ที่ศาลาการเปรียญวัดเวฬุวัน   ต.แม่ปะ  อ.แม่สอด จ.ตาก  นายบุญเรือง  ยะเขียว
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ปะ   ได้เป็นวิทยากร   บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน “  ไวรัสเมอร์ส”    ให้กับ   ผู้ปกครอง  ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลแม่ปะที่ผู้เข้ามาอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในด้านอาหารและโภชนาการ  ประจำปีการศึกษา  2558   โดยส่วนใหญ่  ผู้ปกครอง  ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ปะให้ความสนใจโรคดังกล่าวเป็นอย่างมาก   นอกจากนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ปะมอบยาสามัญประจำบ้าน พร้อมหนังสือคู่มือในการป้องกันโรค  “  ไวรัสเมอร์ส จำนวน   150 ชุด    ให้กับผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ปะ อีกด้วย  
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ปะ เปิดเผยว่า   สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของโรค ดังนี้ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส มีระยะฟักตัวใน  2-4 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไวรัสเมอร์ส มักมีอาการไข้ไอ บางรายจะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วงร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีหายใจหอบและหายใจลําบาก ปอดบวม และพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ สำหรับมาตรการป้องกันสำหรับผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวและสำหรับบุคคลทั่วไปที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากเดินทางเข้าในประเทศที่มีการควรปฏิบัติ คือ 1.หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม 2.ผู้มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ 3.ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
4.หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์โดยเฉพาะอูฐ ซึ่งอาจเป็น แหล่งรังโรคของเชื้อได้ 5.ถ้ามีอาการไข้ไอ มีน้ำมูกเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชําระปิดปากและจมูกทุกครั้ง ทิ้งกระดาษชําระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
ภาพ / ข่าว   เครือข่ายสำนักข่าวนครแม่สอด

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////// 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น