วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้วจัดกิจกรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนาธรรมประเพณี การปลูกข้าว ประจำปีการศึกษา 2558

โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้วจัดกิจกรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนาธรรมประเพณี การปลูกข้าว ประจำปีการศึกษา 2558
                วันที่ 5 พ.ค. 2558 นายไพรัตน์  อินริราย  ผู้อำนวยการ โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนาธรรมประเพณี การปลูกข้าว ประจำปีการศึกษา 2558 บนแปลงนาสาธิตของโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว บริเวณถนนสายเอเชีย แม่สอด – ริมเมย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้อ­งถิ่น และวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้นักเรียน-เยาวชน คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้ถึงวิธีการ และขั้นตอนการทำนา ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว การดำนา ปลูกข้าว ไปจนถึงการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าว  เพื่อให้รู้ซึ้งถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวนาไทยในอดีต เพื่อจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียน โดยน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของปวงชนชาวไทยในทุกหมู่เหล่า มาปรับใช้ทำเป็นหลักสูตรการศึกษา “โครงการทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์” ให้กับเด็กนักเรียน โดยกิจกรรมในวันนี้ เป็นการเริ่มต้นการหว่านกล้าข้าว โดยใช้ข้าวเจ้าพันธ์ข้าวขาวดอกมะลิ และข้าวเหนียวพันธ์ กข.6 ซึ่งในวันนี้จะเป็นกิจกรรมของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีปราชญ์ชาวบ้านในการปลูกข้าวคุณลุงเงิน อินต๊ะ มาเป็นวิทยากรสอนการหว่านกล้าข้าวและ การใช้อุปกรณ์ประกอบพิธีก่อนทำการหว่านกล้าข้าว ที่เรียกว่า เฉลว หรือ ตะแหลว เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ จะทำจากตอกหนึ่งก้านที่หักไปมาเป็นแฉก หรือจะทำจากตอกหลายก้านมาสานรวมกันเป็นแฉกก็ได้ ตะแหลงถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งหวงห้ามอันมีเจ้าของอยู่แล้ว เป็นสัญลักษณ์ความพิเศษอีกด้วย ในการสู่ขวัญข้าว ตะแหลวถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันมิให้ผีร้ายเข้ามาทำลายพระแม่โพสพ ซึ่งมีชื่อว่าตะแหลวแม่หม้าย   นายไพรัตน์ อินริราย ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว (โรงเรียนรางวัลพระราชทาน 3 ระดับชั้น) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ นายณัฐิวุฒิ โชติมนต์ ครูผู้สอนโครงงานนาอินทรีโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว นำข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ดี มาปลูกในแปลงนาสาธิต จำนวน 10 ไร่ โดยได้รับการอนุเคราะห์จากเจ้าของที่นา ให้ใช้สถานที่เป็นประจำทุกปี เพื่อไว้เป็นวิทยาทานในการเรียนการสอน ซึ่งก็คาดว่าจะสามารถสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนาไทยในอดีต เกี่ยวกับการทำนาปลูกข้าว เพื่อไว้ใช้ในโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน อย่างยั่งยืนสืบต่อไป //////////////////////////////////////////////////
ภาพ / ข่าว ศิริพันธ์  นันทะศิริ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น