วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรงพยาบาลแม่สอด อบรมโครงการพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพในการบริการสุขภาพจิตและป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน

       ที่ห้องประชุมเพชรชมพู ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงพยาบาลแม่สอด นายแพทย์จรัล วิวัฒน์คุณูปการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน เพื่อเพื่อพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรสุขภาพจิตและจิตเวช เพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วยจิตเวช ให้เครือข่ายมีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน และเพื่อร่วมวางแผนและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไขการดำเนินงานตาม มาตรฐานสุขภาพจิตและจิตเวช โดยการอบรมในครั้งนี้เจ้าหน้าที่จากสหสาขาวิชาชีพ เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน 

          นายแพทย์ศิริศักดิ์ เชื้อชวลิต หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลแม่สอด กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วยความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันประชากรมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นจากข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตโรงพยาลแม่สอดปี2556-2557พบว่ากลุ่มโรคที่สำคัญในการดูแลทางจิตเวชคือกลุ่มโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าสำหรับปัญหาที่ตามมาซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญคือปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จซึ่งพบว่ามีอัตราสูงขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมจะทำให้มีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นไม่เป็นภาระของครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลแม่สอดจึงได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพในการบริการสุขภาพจิตและจิตเวชการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า โรคจิตเภทและป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชนขึ้น

          นายแพทย์จรัล วิวัฒน์คุณูปการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด กล่าวว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจและผลกระทบจากภัยธรรมชาติหรือภัยจากกระทำของมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเป็นเหตุให้ภาวะสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปทั้งทางร่างกายและจิตใจ สะท้อนออกมาในรูปแบบของปัญหาความก้าวร้าวรุนแรงและโรคทางจิตเวช ซึ่งปัญหาและโรคเหล่านี้ทำให้เกิดความสูญเสีย ด้านความสามารถของผู้ป่วย รวมทั้งการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากปัญหาและความรุนแรงแม้ว่าโรคทางจิตเวชเหล่านี้มากกว่าร้อยละ90 สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติได้ หรืออย่างน้อยอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยการได้รับการรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง การอบรมในครั้งนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำเอาความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยมาใช้และพัฒนาตนเองเพื่อลดขนาดความรุนแรงของปัญหาด้านสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ลดภาระการดูแลผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองด้านสุขภาพและอยู่ในชุมชนได้นานมากขึ้น และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการตามระบบเครือข่าย


/////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น